เก็บตกจากการประชุม WCCA/AFITA 2016

AFITA case study รูปแบบความสำเร็จจากประเทศญี่ปุ่น

dsc03358.jpg

รูปแบบการร่วมทำวิจัยงานด้าน IT กับการเกษตรที่เป็นรูปธรรมคือประเทศญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น โดยองค์กรภาครัฐชื่อ NARO (National Agriculture and Bio-informatics Research Institute) ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ผลักดันการก่อตั้ง AFITA ในปี 1998 มี Prof. Seishi Ninomiya ซึ่งสังกัดอยู่ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว เป็นแกนสำคัญ กลุ่มนักวิจัยกลุ่มนี้เป็นกำลังสำคัญทั้งใน AFITA และ APAN (Asia Pacific Advanced Network – Agriculture Working Group) จากการรวมตัวกันของนักวิจัยในสายเกษตรและสาย IT ก่อตั้งเป็น Interdisciplinary Agricultural ICT Consortium มีสมาชิกทั้งหมด 16 องค์กร ประกอบด้วย U. of Tokyo, Nagoya University, Aichi Gakuin University, Aichi Institute of Technology, Chubu University, Ehime University, Mie University, Shinshu University, Aichi Keizairen, Bio Tech Tokai, Toyota City, Hamamatzu Photonics K.K., Mitsubishi Research and Consulting, Sunrise Farm Toyota และ NEC Solution Innovators

Consortium ประกอบด้วยคณะกรรมการ 3 คณะ คือ Oversight committee, Strategy committee, และ Operation panel ซึ่งดูแลสายงานวิจัย ประกอบด้วย

  • Sensing group
  • Information Infrastructure Research Group
  • User Services Group
  • Evaluation Group

ในการประชุม WCCA/AFITA 2016 ที่ผ่านมานี้ได้มีการนำเสนอผลงานใน specials session ที่เห็นการบูรณาการงานวิจัยกันอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นแบบแผนที่น่าสนใจ หากเราต้องการผลักดันเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง(และ..จริงใจ)

AFITA (Asian Federation of Information Technology for Agriculture)

WCCA (World Congress of Computer for Agriculture) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจทำหน้าที่ในการเป็นเวทีกลางให้คนที่ทำงานในวิชาชีพด้าน ICT กับการเกษตรกับนักวิชาการเกษตรได้มาร่วมงานกันในการพัฒนา เครื่องมือ อุปกรณ์ โปรแกรม ที่สนับสนุนภาคเกษตรในด้านต่างๆ เช่น การบริหารจัดการการผลิต คุณภาพมาตรฐานสินค้า บรรจุภัณฑ์ การขนส่ง การเชื่อมต่อระหว่างสังคมผู้บริโภคกับผู้ผลิต และการจัดการการผลิตให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น WCCA มีมหาวิทยาลัยฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นแกนกลาง ประกอบด้วย federation 4 federations คือ AFITA (Asian Federation of Information for Agriculture)  ประกอบด้วยประเทศสมาชิกในเอเซียและแปซิฟิค, EFITA ( European Federation of Information Technology for Agriculture) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกในยุโรป, INFITA (International Network for Information Technology for Agriculture), และ PANFITA ( Pan-American Federation of Information for Agriculture) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกในอเมริกาใต้ WCCA มีการประชุมทุกๆ 4 ปี

AFITA ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1998 ที่เมือง Wakayama ประเทศญี่ปุ่น มีกลุ่มเครือข่ายร่วมจัดตั้ง ประกอบด้วย

  • Japanese Society of Agricultural Informatics.
  • Korean Society for Agricultural Information.
  • Chinese Society of Agricultural Information.
  • Thai Agricultural Information Network.
  • Indian Society of Agricultural Information Technology.
  • Indonesian Society for Agricultural Information

AFITA มีการประชุมทุกๆ 2 ปี หมุนเวียนไปตามประเทศสมาชิก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักที่เข้าร่วมจัดตั้งและนำประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกมาตั้งแต่แรก โดยเริ่มก่อตั้งกลุ่มความร่วมมือด้าน IT เพือการเกษตรขึ้นที่เรียกว่า AIN (Agriculture Information Network) เป็นการเริ่มแนวคิดและการพัฒนา IT เพื่อการเกษตรจนถึงปัจจุบัน ในปี 2004 ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการจัดประชุม WCCA/AFITA 2004 ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งในครั้งนั้นสมเด็จพระเทพรัตนฯได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุม

ในปี 2017 จะมีการประชุมรอบพิเศษ ณ สถาบัน IITB (Indian Institute of Technology Bombay, เมือง Mumbai ประเทศอินเดียและในปี 2018 จะมีการประชุมที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม และในปี 2020 ได้มีการเสนอให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุม

AFITA ให้ความสำคัญในเทคโนโลยี ICT เพื่อการเกษตรและเป็นเวทีแลกเปลี่ยนนักวิชาการด้านการเกษตรและ information technology ดังนี้

  • ICT convergence in agricultural industry
  • Modeling and simulation for agricultural production
  • Decision support system
  • ICT for water management
  • Internet of Things for agriculture
  • Precision agriculture and robotics
  • IT for post-harvest and food marketing
  • It convergence for livestock farm
  • GIS/RS for agriculture and natural science
  • Computer application and extension for farmers
  • Big data analysis for agriculture
  • Interdisciplinary agricultural information and communication technology

ประเทศไทยได้รับประโยชน์อะไรจาก AFITA

ด้วยภาคการเกษตรของประเทศกำลังเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงอันมีสาเหตุมาจาก

  • อายุเฉลี่ยของเกษตรกรไทยที่มากขึ้น
  • การขาดแคนแรงงานที่มีฝีมือในภาคเกษตร
  • ต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้น
  • ลูกหลานเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพเกษตรต่อจากบิดามารดา
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่กระทบต่อการผลิตทางการเกษตร
  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เน้นเรื่องมาตรฐานและความปลอดภัยมากขึ้น
  • การขาดแคลนทรัพยากรในการผลิต เช่น น้ำ ในบางพื้นที่
  • ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
  • การปรับเปลี่ยนการผลิตจากพืชที่มีมูลค่าต่ำเป็นพืชที่มีมูลค่าสูงขึ้น เช่น จากข้าว เป็น ไม้หรือ ไม้ผล

ปัจจัยเหล่านี้ผลักดันให้มีความจำเป็นต้องใช้ information technology เข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตทางการเกษตรใหม่ เพื่อใช้แรงงานน้อยลง ใช้ข้อมูลในการบริหารจัดการเพื่อบริหารต้นทุน โดยการจัดการการผลิตแบบแม่นยำมากขึ้น สิ่งที่ควรดำเนินการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ ประกอบด้วย

  1. นโยบายด้าน IT เพื่อการเกษตรที่ชัดเจนในอันที่จะสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตทางการเกษตรที่ใช้ information technology เข้ามามีบทบาท
  2. การจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือในการวิจัยพื้นฐานด้าน IT เพื่อการเกษตรที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม แบ่งภาระงานตามความสามารถเพื่อสนับสนุนนโยบายในข้อแรกไปสู่การปฏิบัติ
  3. สนับสนุนครงการ start-up เพื่อขยายผลการวิจัยสู่การใช้งานจริงในภาคเกษตร
  4. สนับสนุนให้มีองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการด้าน IT กับการเกษตร สำหรับเกษตรกรรายย่อย หรือวิสาหกิจชุมชน ทำหน้าที่ให้บริการทั้ง Information services and Platform services (farm machinery)

ฐานความรู้และ cases study จาก AFITA จะช่วยให้ทราบแนวทางและการดำเนินการของประเทศอื่นในภูมิภาคและนำมาสู่การแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ร่วมกัน ในอันที่จะทำให้การพัฒนา IT เพื่อการเกษตรของประเทศเป็นไปด้วยความรวดเร็วและทัดเทียมกับประเทศอื่น

มือน้อย…บนรอยทราย

 

DSC02069DSC02060

 

 

 

 

 

เม็ดทรายถูกขีดเขียน…สร้างเป็นภาพ…จากใจผู้โรยทราย…สื่อถึงผู้เฝ้าชม..ภาพแล้ว ภาพเล่า ถูกวาดขึ้นและลบทิ้ง ในเวลาชั่วขณะ…เหมือนชีวิตที่ทุกวินาที เปลี่ยนแปลงไป ดั่งภาพจากเม็ดทราย….ไม่มีอะไรจีรัง เป็นไปตามกฏแห่งไตรลักษณ์….

(จากพิธีเปิดการประชุม WCCA/AFITA 2016 ณ มหาวิทยาลัย Suncheon ประเทศเกาหลีใต้, เป็นพิธีเปิดที่เรียบง่าย แต่สะกดทุกสายตา อยู่บนผืนทราย)

 

 

 

WCCA/AFITA 2016

จบไปแล้วกับการประชุม WCCA/AFITA 2016 ระหว่างวันที่ 21-25 มิถุนายน 2016 ณ เมือง Suncheon ประเทศเกาหลีใต้ WCCA ย่อมาจาก World Congress of Computer for Agriculture ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของกลุ่มนักวิจัยทางด้าน ICT กับการเกษตรของโลก มีสำนักงานสำหรับประสานงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยฟอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา WCCA ประกอบด้วยกลุ่มอาสาสมัครที่ทำหน้าที่ประสานงานนักวิจัยด้านการเกษตร ICT กับการเกษตร และการพัฒนาชุมชนเกษตรในแต่ละภูมิภาคทั่วโลก ประกอบด้วย AFITA หรือ Asian Federation for Information Technology for Agriculture เป็นกลุ่มประเทศเอเวียและแปซิฟิค EFITA หรือ European Federation for Information Technology for Agriculture ก็เป็นกลุ่มประเทศในยุโรป PAN-American Federation กลุ่มประเทศลาตินอเมริกัน ทุกๆ 4 ปี จะมีการประชุม WCCA หนึ่งครั้ง และทุกๆ 2 ป จะมีการประชุม federation 1 ครั้ง หมุนเวียนกันไปตามประเทศสมาชิกทั่วโลก

สำหรับ AFITA จัดตั้งขึ้นในปี 1998 ที่เมือง Wakayama ประเทศญี่ปุ่น และจะฉลองครบรอบ 20 ปี ในการประชุมในปี 2018 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพจัดประชุม WCCA/AFITA เมื่อปี 2004 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งในครั้งนั้นสมเด็จพระเทพรัตนฯได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานเปิดงาน การประชุม board member ในการประชุม WCCA/AFITA 2016 นี้ได้เสนอให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพอีกครั้งในปี 2020

AFITA เป็นการนำเสนอความก้าวหน้าทางแนวคิดและเทคโนโลยีด้าน ICT กับการเกษตร เป็นเวทีสำคัญที่เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของภาคการเกษตรของภูมิภาคในอนาคต ซึ่งในความเป็นจริงปัญหาในภาคเกษตรของประเทศไทยกับประเทศอื่นในภูมิภาคนั้นจะคล้ายๆกัน จะแตกต่างตรงแนวทางการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีที่เกิดจากการร่วมใจกันของนักวิจัยในสาขาเกษตร ICT และการพัฒนาองค์ความรู้ อย่างผสมผสาน(convergence) และทำให้เกิดแรงผลักในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและการปฏิบัติในภาคการผลิต องค์ประกอบที่สำคัญจาก 2 ประเทศที่ประสบความสำเร็จในเวลา 20 ปีที่ผ่านมาือเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ที่มีองค์กรกลาง เช่น JA (ญี่ปุ่น) หรือ RDC(Rural Development Corporation) และ APC (Agriculture Products Corporation) ในเกาหลี ในการให้บริการ (services) ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องจักรกลการเกษตร ระบบข้อมูล และการตลาดอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม ทำงานร่วมกับนักวิจัยและภาคเอกชน {……..ประเทศไทยถ้าเลิกเก่งคนเดียว เลิกทะเลาะกันเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่ม……เลิกรักชาติแบบไร้ทิศทาง….แล้วหันมาดูตัวเอง กล้าที่จะยุบรวมองค์กรภาครัฐที่ไร้ประสิทธิภาพหรือทำงานซ้ำซ้อนกัน…..มี national agenda เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการเกษตรของประเทศ …..ปรับ mindset และ paradigm shift ของเจ้าหน้าที่ในองค์กรที่เกี่ยวข้อง ….อันนี้ฝันนะครับ}

DSC02051 DSC02061 20160621_074742 DSC02070 20160621_074257 DSC02106

Smart Agriculture กับสวนมะพร้าวน้ำหอม…Drone, RS, GPS

sweet coconut 20160407_110029

 

 

 

 

วันที่ 3 มิถุนายน 2559 ทีม ดร.นาไก จาก AIT เยี่ยมชมสวนมะพร้าวน้ำหอม ของคุณเปรม ณ สงขลา ที่ จ.ปทุมธานี ทั้งสวนเก่าและพื้นที่เปิดใหม่อีก 30 ไร่ ที่ตั้งใจให้เป็นสวนผลิตพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม และเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับมะพร้าวน้ำหอมต่อไป เนื่องจากสวนนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้การใช้ Smart Agriculture เทคโนโลยีในความร่วมมือกับ สกว.ด้วย ทาง AIT จึงสนใจเข้ามาร่วมทดสอบการใช้เทคโนโลยี Drone เพื่อการเกษตร และระบบ GPS ในการติดตามการทำงานของแรงงานในแปลง ตลอดจนติดตามการทำงานของอุปกรณืเครื่องจักรในแปลง ระบบเซนต์เซอร์ที่ควบคุมสภาพการให้น้ำและปุ๋ย ระบบการติดตามและส่งสัญญาณการตรวจวัดผ่านtwitter เป็นต้น ซึ่งในรายละเอียดจะมีการนัดหารือกันต่อไป

ประชุมร่วมกับ FAO เรื่องระบบตรวจประเมินมาตรฐานการผลิต

image

วันที่ 23 พ.ค. 2559 ได้ประชุมร่วมกับ Dr. Sylvester Gerard FAO-RAP และ Dr. Kevin Gallagher, FAO representative to Mongolia ในเรื่อง ความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบ agriculture quality assessment system หรือ GAP บน mobile application ภายใต้ชื่อ TAMIS ไปใช้งานในระดับนานาชาติ โดย FAO จะแปลเป็นภาษาอังกฤษ และนำร่องการใช้งานในมองโกเลีย ทั้งนี้ระบบดังกล่าวเนคเทคได้พัฒนาใช้งานนำร่องกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกข้าวอินทรีย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Smart Agriculture กับมะพร้าวน้ำหอม

image

วันที่ 29 พ.ค. 2559 หารือร่วมกับ ดร.นาไก ดร.อภิชน และคุณเปรม ณ สงขลา ที่ AIT เพื่อร่วมกันนำเทคโนโลยี drone/RS เพื่อการเกษตร และระบบติดตามพฤติกรรมการทำงานและการเครื่องที่ของคนและเครื่องจักรกลเกษตร ไปทดสอบการใช้งานในสวนมะพร้าวน้ำหอมเคหเกษตร ที่ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เป็นส่วนหนึ่งของงาน Smart Agriculture นำร่องร่วมกับ สกว.ฝ่ายเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง มก.กำแพงแสน และเนคเทค

ประชุม cluster กล้วยไม้

image

image

image

image

วันที่ 27 พฤษภาคม 2559 ได้ไปร่วมการทำกลุ่มระดมความคิดของ Cluster กล้วยไม้ ที่ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมพืชสวน อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ในหัวข้อปุ๋ยและธาตุอาหารกล้วยไม้ มีผู้เข้าร่วมกลุ่มประกอบด้วย มก.บางเขนและกำแพงแสน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ เนคเทค มทร.ล้านนา กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ผู้ประกอบการและผู้ส่งออก คุณสุวิทชัยและคุณสมโภชน์ ในฐานะ facilitator ในกลุ่ม ได้สรุปเนื้อหาและแนวทางดำเนินการเบื้องต้นตามผังภาพประกอบ ซึ่งหัวข้อที่เป็นที่สนใจนี้จะนำมาคุยกันในระดับที่ไปสู่การร่วมศึกษาวิจัยในครั้งต่อไป

การประชุมติดตามความก้าวหน้างาน อพ.สธ.จังหวัดปทุมธานี

 

วันที่ 11 พ.ค. 2559 ร่วมประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการ อพ.สธ.จังหวัดปทุมธานี ที่ อบต.ลำลูกกา  เป้าประสงค์เพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรท้องถิ่น การเรียนรู้และใช้ประโยชน์ การปกปักสิ่งที่มีค่าของแผ่นดิน

บูรณาการงานวิจัยทุเรียน…

1462872880725.jpg
Enter a caption

10 พ.ค. 2559 บ้านสามหลัง สวนจิตรลดา การหารือระหว่าง อพ.สธ.กับ ผอ.ฝ่ายเกษตร สกว. และ อ.จริงแท้ จาก มก.

หลังจากได้มีการพบปะกันเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาของวงการทุเรียนในระยะยาว เมื่อวันที่ 10 มี.ค.และวันที่ 17 เม.ย ประเด็นความต้องการจากตัวแทนชาวสวน สหกรณ์ ผู้ส่งออก ได้นำมาเทียบกับเป้าหมายของการทำงานพืชอนุรักษ์ อพ.สธ.โดยเฉพาะทุเรียนที่เป็นพืชหนึ่งในสิบชีวภาพ ที่ต้องทำงานบูรณาการทั้งระบบ และยุทธศาสตร์ทุเรียน ปี 2559-2563 ของกรมวิชาการเกษตร จะได้ประเด็นที่ต้องเสริมงานวิจัยในสิ่งที่ขาดและจำเป็นเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมทุเรียนไทยให้ก้าวต่อไป อย่างมั่งคง ความสนใจนี้จะลงไปที่ฐานทรัพยากรท้องถิ่น การเรียนรู้ต่อยอด การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม และการสร้างคนที่จะกลับไปเป็นชาวสวนรุ่นใหม่ที่สามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม สิ่งแวดล้อม และพลวัตรของโลก